วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552

วิธีช๊อปปิ้ง ให้ถูกใจ

สวัสดีครับ วันนี้ขอนำเสนอความรู้สาระสำหรับสาวๆหรือผู้ชายที่ชอบช๊อปปิ้งอย่างผม
เคยสังเกตมั้ยครับว่าเวลาไปช๊อปปิ้งกลับมาแล้ว ลองกลับมานับสิครับว่ามีของสักกี่ชิ้นที่เราซื้อมาเพราะเราชอบจริงๆ

วันนี้ผมเลยไปหาวิธีที่จะทำให้เราช๊อปปิ้งได้ของที่ถูกใจจริง ไม่ใช่ซื้อเพราะโดนยุ โดเจ้าของร้านเชียร์ให้ซื้อ
ลองอ่านกันดูนะครับ แล้วนำไปปฏิบัติด้วยนะครับ

วิธีชอปปิ้ง ให้ถูกใจ

(1). ลิสท์รายการสินค้าที่ต้องการก่อนการซื้อ
• การไปซื้อของโดยไม่มีรายการ "ของต้องซื้อ" มักจะทำให้เสียเวลาอยู่ที่ร้านนานขึ้น ซื้อของมากขึ้น และจ่ายมากขึ้นด้วย
• ทางที่ดีคือ จดไปก่อนว่า ต้องการอะไร ซื้อของตามรายการ และรีบออกไปก่อนที่รายจ่ายจะ "บานปลาย"

(2). เก็บข้อมูลโปรโมชั่นหรือกิจกรรมของสินค้า
• สินค้าตัวไหนที่ใช้เป็นประจำ เราควรจดบันทึกไว้ว่าช่วงไหนเป็นช่วงโปรโมชั่น ช่วงไหนมีแกรนด์เซลล์ เพื่อที่จะได้ไม่พลาดโอกาส ซื้อของในช่วงลดราคา เช่น ห้างสรรพสินค้า บางห้าง จะมีช่วงแกรนด์เซลล์ หรือ สินค้าประเภทเครื่องสำอางจะมีจัดเป็นบิวตี้เซท ในราคาพิเศษช่วงคริสต์มาส เป็นต้น

(3). สะสมคูปองลดราคา
• ดู รายการลดราคาสินค้าในโบว์ชัวร์ หรือนิตยสาร ก่อนไปซื้อของ... ถ้าพบรายการสินค้าลดราคา หรือคูปองลดราคา อย่าลืมตัดเก็บ และนำไปเป็นหลักฐานด้วยเสมอ

(4). อย่าด่วนตัดสิน
• ซูเปอร์ มาร์เกตมักจะแบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่ ประเภท "ถูกทุกวัน กับประเภท "ราคาขึ้นๆ ลงๆ ซึ่งอาจมองดูหรูกว่าสักหน่อย ทำให้พวกเรามักจะพิพากษา หรือตัดสินไว้ก่อน ว่า "ร้านนี้แพง"
• ซูเปอร์ มาร์เกตประเภท "ถูกทุกวัน มักจะตั้งราคาให้ต่ำหน่อยตลอดปี ทำให้เป็นร้านค้ายอดนิยม ทว่า... ถ้าติดตามข้อมูลข่าวสารดีๆ เช่น หนังสือพิมพ์ ฯลฯ ร้านค้าที่ดูหรู ก็มีช่วงลดราคาเหมือนกัน และมักจะลดราคาต่ำกว่าร้านประเภท "ถูกทุกวัน" เสียด้วย

(5). หัดสังเกต ตรวจตรา
• สินค้า แพงๆ มักจะตั้งไว้ตรงกลาง หรือที่ๆ เดินเข้าไปแล้ว "เตะตา" หรืออยู่ "พบเห็น" ตั้งแต่แรก ของที่ถูกหน่อยหรือแบรนด์ ที่ไม่ดังเท่าไหร่มักจะอยู่บริเวณ "ชายขอบ" หรือ "บริเวณชายแดน" (ขอบนอก) ของร้าน
• เพราะ ฉะนั้นไม่ว่าจะซื้ออะไร... อย่าลืมสำรวจสินค้ากลุ่มเดียวกันให้หมด (ซ้ายสุดจรดขวาสุด) แล้วเปรียบเทียบกันก่อนว่า แบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน อย่าเพิ่งซื้อสินค้าชนิดแรกที่ "สบตา" กันพอดี

(6). มองสูง แล้วมองต่ำ
• สินค้าที่อยู่ในระดับสายตามักจะต้องเสียค่า "ขึ้นหิ้ง" สูงกว่าสินค้าที่อยู่สูงกว่า หรือต่ำกว่าระดับสายตา
• เวลา ซื้อของ... อย่าลืมมองให้สูงขึ้น (สูงกว่าระดับสายตา) และมองให้ต่ำลง (ต่ำกว่าระดับสายตา) เพราะนั่นอาจทำให้พบสินค้าที่มีคุณภาพดี "ในราคาที่ประหยัดกว่า" ได้

(7). สินค้าขนาดเล็กประหยัดกว่า
• สินค้าแพ็ค (pack = ขนาดบรรจุภัณฑ์ ขนาดสินค้า) ใหญ่มักจะประหยัดกว่าแพ็คเล็กก็จริง แต่ก็ไม่เสมอไป
• วิธี ที่ดีคือ ให้พกเครื่องคิดเลข โทรศัพท์มือถือที่มีเครื่องคิดเลขไปด้วย แล้วคำนวณดูว่า แพ็คขนาดใดประหยัดกว่า ซึ่งอาจจะพบว่า ขนาดใหญ่ไม่ได้ประหยัดกว่าเสมอไป
• สินค้า หลายอย่างซื้อทีละน้อยประหยัดกว่า โดยเฉพาะอาหารจานด่วน (ฟาสต์ฟูด) และขนมสำเร็จรูป... เนื่องจากคนเรามีแนวโน้มจะ "กินทีเดียวหมดเลย" แพ็คใหญ่ทำให้อ้วนได้ง่ายกว่า และลดความอ้วนได้ยากกว่าด้วย

(8). ใช้เครดิตการ์ดดีไหม
• ร้านค้าหลายแห่งมีสิทธิประโยชน์ให้คนที่ใช้บัตรสมาชิกได้รับส่วนลด หรือสิทธิพิเศษ ซึ่งควรศึกษาดูว่า คุ้มไหม
• คน ที่ "ใช้บัตร (เครดิต)" แล้วคุ้มมักจะเป็นคนที่มีฐานะการเงินมั่นคง (มีเงินเก็บอย่างน้อย 6 เดือนของรายจ่ายประจำ) มีรายได้ประจำสม่ำเสมอ ไม่มีหนี้ และอายุมากกว่า 35 ปี (คนที่อายุเกิน 35 ปีมักจะระมัดระวังเรื่องการเงินมากกว่าคนที่อายุน้อยกว่านี้)
• คน ที่ "ใช้บัตร (เครดิต)" แล้วขาดทุน หรือพอพกบัตรแล้ว "มือเติบ" ใช้เงินเกินตัว... มักจะขาดคุณสมบัติข้างต้น เป็น "คนรวยใหม่ (nouveau riche)" เช่น เพิ่งถูกลอตเตอรี เพิ่งได้รับมรดก เพิ่งมีฐานะดีขึ้น (เช่น อยู่ๆ ก็ขายที่ดินได้เป็นกอบเป็นกำ ฯลฯ) คนที่เพิ่งเริ่มต้นทำงาน

(9). หีบห่อสวยหรู ราคาก็หรูตาม
• ผักผลไม้และสินค้าที่ซื้อเป็นชิ้นๆ ใส่ถุงมักจะมีราคาถูกกว่าผักผลไม้ที่ปอกเปลือก หรือบรรจุแพ็คพร้อมกิน
• ทาง ที่ดีคือ ซื้อผลไม้ทั้งผล หรือซื้อผักไปล้างเอง หั่นเองที่บ้าน และที่ไม่ควรลืมคือ ผลไม้ทั้งผลดีกับสุขภาพมากกว่าน้ำผลไม้ เนื่องจากมีเส้นใย (ไฟเบอร์) ที่ช่วยให้อิ่มนาน ไม่หิวง่าย ดูดซับโคเลสเตอรอล ดูดซับสารพิษ และป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่

(1o). อย่าซื้อตอนท้องว่าง
• คนที่กำลังหิวข้าว หรือหิวน้ำอยู่มีแนวโน้มจะซื้อของกินกลับบ้านมากเกิน วิธีที่ดีคือ กินข้าวและดื่มน้ำให้อิ่มพอประมาณก่อนไปชอป (ซื้อของ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น